analyticstracking
หัวข้อก้าวเข้าสู่ปีที่ 4 ของ คสช.
คนไทยอยากเห็นผลงาน คสช. เน้นปฏิรูปในเรื่องการบังคับใช้กฎหมายอย่างเป็นธรรม
และการขจัดคอร์รัปชั่นเพิ่มขึ้น
ส่วนใหญ่ 56.4% คาดหวังมากว่า คสช. จะสามารถปฏิรูปประเทศในด้านต่างๆ ได้สำเร็จ
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                  กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้ดำเนินการ
สำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “ก้าวเข้าสู่ปีที่ 4 ของ คสช.” โดยเก็บข้อมูล
กับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,269 คน พบว่า
 
                  เมื่อถามความเห็นของประชาชนต่อการบริหารงานและการปฏิรูป
ประเทศในภาพรวมของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ตลอดระยะเวลา
3 ปี พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 40.9 เห็นว่า มีผลงานบ้าง ประเทศพัฒนาขึ้นเล็กน้อย

ส่วนร้อยละ 33.7 เห็นว่า มีผลงานเด่นชัด ประเทศมีการพัฒนาขึ้นมาก ขณะที่ร้อยละ 23.1
เห็นว่าเหมือนเดิมไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ที่เหลือร้อยละ 2.3 ไม่แน่ใจ
 
                  เมื่อถามต่อว่าก้าวเข้าสู่ปีที่ 4 ของ คสช. อยากเห็นผลงานการปฏิรูป
ประเทศในเรื่องใดให้เด่นชัดขึ้นมากที่สุด อันดับแรกคือ การบังคับใช้กฎหมาย
อย่างเคร่งครัดและเป็นธรรม (ร้อยละ 50.1)
รองลงมาคือ การมีกลไกป้องกันและขจัด
การทุจริตและประพฤติมิชอบที่มีประสิทธิภาพ (ร้อยละ 48.3) และการขจัดความเหลื่อมล้ำ
และสร้างความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจและสังคม (ร้อยละ 46.6)
 
                 ทั้งนี้เมื่อถามถึงความคาดหวังต่อก้าวเข้าสู่ปีที่ 4 ของ คสช. จะสามารถปฏิรูปประเทศในด้านต่างๆ
ได้สำเร็จ ดังสโลแกนที่ว่า “ เราจะทำตามสัญญาขอเวลาอีกไม่นาน” พบว่าส่วนใหญ่ร้อยละ 56.4 คาดหวัง
ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
ขณะที่ร้อยละ 38.0 คาดหวังค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด ส่วนที่เหลือร้อยละ 5.6 ไม่แน่ใจ
 
 
                  โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถามดังต่อไปนี้
 
             1. ความเห็นต่อการบริหารงานและการปฏิรูปประเทศในภาพรวมของ คสช. ตลอดระยะเวลา 3 ปี

 
ร้อยละ
มีผลงานบ้าง ประเทศพัฒนาขึ้นเล็กน้อย
40.9
มีผลงานเด่นชัด ประเทศมีการพัฒนาขึ้นมาก
33.7
คิดว่าเหมือนเดิมไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง
23.1
ไม่แน่ใจ
2.3
 
 
             2. ข้อคำถาม “ก้าวเข้าสู่ปีที่ 4 ของ คสช. ท่านอยากเห็นผลงานการปฏิรูปประเทศในเรื่องใด
                 ให้เด่นชัดขึ้นมากที่สุด”


 
ร้อยละ
การบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดและเป็นธรรม
50.1
การมีกลไกป้องกันและขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบที่มีประสิทธิภาพ
48.3
การขจัดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจและสังคม
46.6
การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
มีความเหมาะสมกับสังคมไทย
44.3
การมีกลไกให้มีการเลือกตั้งที่สุจริตและเป็นธรรม
37.4
ภาครัฐให้บริการประชาชนได้อย่างทั่วถึง สะดวก รวดเร็ว
37.1
 
 
             3. ข้อคำถาม “ก้าวเข้าสู่ปีที่ 4 ของ คสช. ท่านความคาดหวังมากน้อยเพียงใดว่า คสช. จะสามารถปฏิรูป
                 ประเทศในด้านต่างๆ ได้สำเร็จ ดังสโลแกนที่ว่า “ เราจะทำตามสัญญาขอเวลาอีกไม่นาน”

 
ร้อยละ
ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
(โดยแบ่งเป็นค่อนข้างมากร้อยละ 42.4 และมากที่สุดร้อยละ 14.0)
56.4
ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
(โดยแบ่งเป็นค่อนข้างน้อยร้อยละ 22.6 และน้อยที่สุดร้อยละ 15.4)
38.0
ไม่แน่ใจ
5.6
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  1) เพื่อสะท้อนความเห็นต่อการบริหารงานและการปฏิรูปประเทศในภาพรวมของ คสช. ตลอดระยะเวลา 3 ปี
                  2) เพื่อต้องการทราบถึงเรื่องที่อยากให้ คสช. ปฏิรูปประเทศให้เห็นผลที่เด่นชัดมากที่สุด ในการก้าวเข้าสู่ปีที่ 4
                  3) เพื่อต้องการทราบถึงความคาดหวังว่า คสช. จะสามารถปฏิรูปประเทศในด้านต่างๆ ได้สำเร็จ ดังสโลแกนที่ว่า
                      “ เราจะทำตามสัญญาขอเวลาอีกไม่นาน”
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป
โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย
(Simple Random Sampling) แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์
ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล
เป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำ
แบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 24 – 25 พฤษภาคม 2560
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 27 พฤษภาคม 2560
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
649
51.1
             หญิง
620
48.9
รวม
1,269
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
152
12.0
             31 – 40 ปี
264
20.8
             41 – 50 ปี
360
28.4
             51 – 60 ปี
286
22.5
             61 ปีขึ้นไป
207
16.3
รวม
1,269
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
839
66.1
             ปริญญาตรี
335
26.4
             สูงกว่าปริญญาตรี
95
7.5
รวม
1,269
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
166
13.1
             ลูกจ้างเอกชน
283
22.3
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร
508
40.0
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
48
3.8
             ทำงานให้ครอบครัว
1
0.1
             พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/ เกษียณอายุ
206
16.2
             นักเรียน/ นักศึกษา
41
3.2
             ว่างงาน/ รวมกลุ่ม
16
1.3
รวม
1,269
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776